วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 3 G 4G 5G คืออะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไร มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเราหรือไม่


 1.  เทคโนโลยี 3 G 4G 5G คืออะไรและมีความแตกต่างกันอย่างไร มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันเราหรือไม่ 

          ในโลกแห่งการติดต่อสื่อสาร สมัยใหม่เช่นทุกวันนี้ หลายคนต้องผ่านหูผ่านตากับคำว่า 3G มาบ้าง พูดกันง่ายๆ 3G คือระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคใหม่ (ยุคที่ 3) ที่จะมาใช้ทดแทนระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบดิจิตอล เช่น GSM (ที่ถือว่าเป็นยุคที่ 2) และระบบอนาล็อก เช่น AMPS หรือ NMT (ที่ถือว่าเป็นยุคที่ 1 หรือยุคแรก) ซึ่งมีมาตรฐานที่ผลิตอุปกรณ์ และผู้ประกอบการทั่วโลกนำมา ให้บริการเป็นที่นิยมแพร่หลายอยู่ 2 มาตรฐานคือ WCDMA ซึ่งพัฒนามาจาก GSM ของกลุ่มยุโรป และ CDMA2000 ซึ่งพัฒนามาจาก CDMA (IS-95) ของกลุ่มอเมริกา ทั้งนี้ ในทางวิชาการจะเรียก 3G ว่า IMT-2000
          ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที 3G ได้ถูกออกแบบให้มีความสามารถ ในการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่าระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน (ตามมาตรฐานสากล กำหนดว่า อัตราความเร็วมากกว่า 144 kpbs ในทุกสภาวะ 384 kbps ในสภาวะเคลื่อนที่และสูงถึง 2 Mbps ในสภาวะกึ่งเคลื่อนที่) เพื่อรองรับบริการมัลติมีเดีย (ซึ่งรวมทั้งเสียง ข้อมูล และบริการอินเทอร์เนตเข้าด้วยกัน) เมื่อเทียบกับความเร็วของบริการ GPRS ที่ไม่เกิน 170 Kbps หรือ EDGE ที่ได้สูงสุด 384 kbps
          ผู้ผลิตและผู้ประกอบการหลายกลุ่มได้รวมตัวกัน เพื่อมุ่งพัฒนาระบบ 3G อย่างต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง ซึ่งอยู่มากมายหลายเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น 3.5G (HSPA หรือ cdma2000EVDV) หรือว่า 3.9G (LTE-Long Term Evolution) ในขณะที่บางรายก็พยายามก้าวไปสู่ 4G ซึ่งยังไม่แน่นอนตายตัว อย่างไรก็ตาม ITU ซึ่งเป็นองค์กรโทรคมนาคมระดับโลก ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน อีกครั้งโดยคาดหวังว่า ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 จะเป็นระบบที่ก้าวเข้าสู่การรับส่งข้อมูลที่สูงขึ้น 1Gbps ได้อย่างง่ายดายคาดว่าจะเห็นเป็นรูปธรรมในปี ค.ศ.2012
          ประโยชน์ของ 3G
          เนื่องจากอัตราการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็วมากขึ้น ทำให้ระบบ 3G มีความสามารถรองรับบริการมัลติมีเดีย นอกเหนือจากการรับส่งเสียงการสนทนาโทรศัพท์ ข้อความสั้น (SMS) e-mail หรือข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ซึ่งเป็นบริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยสามารถส่งคลิปเสียง/คลิปวีดีโอ เล่นเกมส์ ดาวน์โหลดเพลง รูปภาพ สนทนาในลักษณะได้ยินเสียงและเห็นภาพพร้อมกัน (video conference) หรือ บริการในลักษณะของ triple play คือโทรศัพท์เข้าใช้อินเทอร์เน็ต และรับส่งข้อมูลอื่นได้พร้อมกัน
          การเปิดโอกาสให้มีการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ในประเทศย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยตรง และต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม เนื่องจากระบบ 3G มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้มีความสามารถ ในการสื่อสารข้อมูลด้วยความเร็วที่มากขึ้น สัญญาณมีความชัดเจนและมีคุณภาพดียิ่งขึ้น ผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์ จากการใช้บริการโทรคมนาคม และหลากหลายมากขึ้นกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน









4G คืออะไร มีประโยชน์กับเราอย่างไร
4G คือเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านอุปกรณ์แบบเคลื่อนที่ (โทรศัพท์มือถือและแทบเล็ต) ในยุคที่ 4 หรือ 4th Generation Mobile Communications อาจจะเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า LTE (Long Term Evolution) แต่เดิมได้ถูกวางไว้เป็นระบบ 3.9G แต่ต่อมาได้ถูกพัฒนาความเร็วการเชื่อมต่อให้มากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็นระบบ 4G นั่นเอง
จุดกำเนิดของระบบ 4G
ระบบ 4G ถูกกำหนดมาตรฐานขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.2008 โดย International Telecommunications Union-Radio communications sector (ITU-R) โดยเรียกข้อกำหนดนี้ว่า The International Mobile Telecommunications Advanced specification (IMT-Advanced) ซึ่งได้กำหนดความเร็วของระบบ 4G ไว้ที่ 1Gbps แต่ด้วยขีดจำกัดทางด้านเทคโนโลยีและความพร้อมของผู้ให้บริการ จึงทำให้ระบบ 4G ในปัจจุบัน (ซึ่งถือว่าเป็นยุคเริ่มต้น) ทั้ง 2 ระบบคือทั้งแบบ WiMAX และ LTE ยังไม่สามารถทำความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงตามข้อกำหนด IMT-Advanced โดยทำได้เพียง 100-120 Mbps เท่านั้น แต่คาดว่าเมื่อ WiMAX Release 2 ถูกประกาศใช้ จะสามารถทำความเร็วได้ตามข้อกำหนดข้างต้น โดยอาจจะมีชื่อเรียกว่าระบบ 5G
ความเร็วของระบบ 4G
ตามที่ได้กล่าวข้างต้น ระบบ 4G ตามมาตรฐาน IMT-Advanced จะต้องสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ที่ระดับ 1 Gbps แต่ปรากฏว่าเทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถทำได้ ดังนั้นการให้บริการระบบ 4G ในปัจจุบันจึงให้บริการที่ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงสุดที่ 100 Mbps และอัพโหลดที่ระดับความเร็ว 50 Mbps เป็นหลัก
ประโยขน์ของระบบ 4G
เนื่องจากการรับส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านระบบไร้สายของระบบ 4G ทำให้เราสามารถใช้งานระบบ 4G ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งทางด้านภาพและเสียง เช่น การดาวน์โหลดหรือรับชมวิดีโอ/ภาพยนต์แบบความคมชัดสูง (HD) การเรียนการสอนทางไกลผ่านระบบโทรศัพท์ไร้สาย การรักษาพยาบาลในแหล่งทุรกันดาน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรและอาชีพอื่นๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้อุปกรณ์พกพาเช่น โทรศัพท์มือถือ แทบเล็ต และ notebook computer สามารถทำงานได้อย่างเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากประโยชน์ของระบบ 4G ที่มากมายข้างต้น ทำให้ประเทศต่างๆหันมาใช้ระบบนี้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี สิงค์โปร์หรือแม้กระทั่งเพื่อบ้านใกล้ชิดของเราอย่างประเทศลาวก็มีการเปิดให้บริการระบบโทรศัพท์ 4G แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยของเรา ทางบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) ก็กำลังเริ่มทดสอบระบบนี้เช่นกัน โดยทดสอบบนคลื่นความถี่ 1800 และ 2300 MHz คาดว่าอีกำม่นานประเทศของเราน่าจะมีระบบโทรศัพท์ 4G ใช้งานกัน






2.ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) (MIS) เป็นระบบเกี่ยวกับการจัด หาคน หรือข้อมูลที่สัมพันธ์กับข้อมูล เพื่อการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้าง เจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เจ้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ การประมวลผลของข้อมูลจะช่วยแบ่งภาระการ ทำงานและยังสามารถนำ สารสนเทศมา ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือ MIS เป็นระบบซึ่งรวมความสามารถของผู้ใช้งานและคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศเพื่อการดำเนินงานการจัดการ และการตัดสินใจในองค์การ หรือ MIS หมายถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล การ ประมวลผล และการสร้างสารสนเทศขึ้นมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุม นอกจากนั้นยังช่วยผู้บริหาร และ พนักงานในการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา และสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ โดย MIS จะต้องใช้อุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ (Hardware) และ โปรแกรม (Software) ร่วมกับผู้ใช้ (Peopleware) เพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในการได้มาซึ่งสารสนเทศที่มีประโยชน์
            
  การใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) ได้ขยายขอบเขตเกี่ยว ข้องกับ หลายหน้าที่ในองค์การและเป็นประโยชน์กับบุคคลหลายระดับ ตั้งแต่การใช้งานส่วนบุคคล กลุ่ม องค์การ และระหว่างหน่วยงาน MIS ช่วยให้ผู้ใช้สารสนเทศสามารถแก้ไขปัญหาทางธุรกิจที่ยุ่งยาก และซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้กับหลายองค์การ ดังที่ Kroenke และ Hatch (1994) กล่าวถึง  
                ความสำคัญและผลกระทบของระบบสารสเทศที่มีต่อธุรกิจดังต่อไปนี้
                1. ระบบสารสนเทศช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับการทำงาน
                2. บุคลากรทุกคนต้องมีความรู้เกี่ยวกับ MIS เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาและการใช้งานสารสนเทศทั่วองค์การ ตลอดจนการขยาย ตัวของเทคโนโลยีสารสนเทศและการปรับรูปของระบบงานอย่างต่อเนื่อง
                3. การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์การมากขึ้น
                ปัจจุบันเทคโนโลยี MIS มีพัฒนาการมากขึ้นจนมีความสำคัญต่อเราในหลายระดับที่แตกต่างจากอดีต เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีสารสนเทศมีความจำเป็นและความสำคัญสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติงานในสาขาต่าง ๆ เช่น การบัญชี การเงิน การตลาด และการจัดการทรัพยากรบุคคล แม้กระทั่งวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และศิลปศาสตร์ ดังนั้นบุคลากรที่จะปฏิบัติงาน ในทุกสาขา จึงสมควรมีความรู้และความเข้าใจในหลักการของ MIS เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จในอาชีพได้
Laudon และ Laudon (1994) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสภาพแวดล้อมในการแข่งขันทางธุรกิจมี 2 ประการคือ
         1. การรวมตัวของระบบเศรษฐกิจโลก (Emergence of the Global Economy) ก่อให้เกิดกระบวนการโลกาภิวัตน์ ของตลาด (Globalization of Markets) ที่เกิดการบูรณาการของทรัพยากรทางธุรกิจและการแข่งขันทั่วโลก ธุรกิจขยาย งานครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางจากระดับท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ จากระดับประเทศสู่ระดับภูมิภาค และจากระดับภูมิภาคสู่ ระดับโลก โดยที่การขยายตัวของธุรกิจไม่เพียงแต่เป็นการกระจายสินค้า และบริการอย่างเป็นระบบและทั่วถึง แต่ครอบคลุม การจัดตั้ง การจัด เตรียม ทรัพยากร การผลิตและดำเนินงาน ดังนั้นองค์การธุรกิจในยุค โลกาภิวัตน์จึง ต้องมีโครงสร้าง องค์การและการ ประสานงานที่สอดรับและสามารถควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
       2. การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Transformation of Industrial Economies) ประเทศ อุตสาหกรรม ชั้นนำ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่นปรับตัวจากระบบ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมเข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจที่อาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะเห็นได้จากประมาณร้อยละ 70 ของรายได้ประชาชาติของประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมาจากธุรกิจบริการ และธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) การปรับรูปของระบบเศรษฐกิจ











3.ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันอย่างไง                                                                                                                        ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่
      ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ
      ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
      ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น
                สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
      เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน  เป็นต้น  เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป
     ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ
     ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน
     รูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
      คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
     1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสีย
            อย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหาร
            ขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธี
            การดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด   โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศ
            ส่วนใหญ่มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบ
            ระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
     2. ความรวดเร็ว  และเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้
            มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ
            มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้
    3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย
           ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้
           ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
    4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก
           จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้  มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูล
           ให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
     5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการ
          ของหน่วยงานและองค์การดูสภาพการใช้ข้อมูลความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูล
          ที่สอดคล้องกับความต้องการ  
1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย
            1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้
                  ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบัน
                  มีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
                  การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ
                  เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
           1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล  
                  เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบ
                 ที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี   เช่น  การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคน
                 ป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน
     2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ  อาจประกอบด้วยกิจกรรม
            ดังต่อไปนี้
           2.1 การจัดแบ่งข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับ
                    การใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้ม
                    ประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่งหมวดหมู่
                    สินค้า และบริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา
           2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ
                   ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา  ตัวอย่าง
                   การจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของ
                   ห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์
                   ทำให้ค้นหาได้ง่าย
           2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือ
                   สร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์   ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า
                   เช่นสถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
           2.4 การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถ
                   นำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูล
                   จึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย
4.องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
มี 5 องค์ประกอบ  ได้แก่  ฮาร์ดแวร์   ซอฟต์แวร์   ข้อมูล บุคลากร  และขั้นตอนการปฏิบัติงาน
       http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gifฮาร์ดแวร์เป็นองค์ประกอบสำคัญ หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง
       http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gifซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
       http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gifข้อมูล เป็นส่วนที่จะนำไปจัดเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์
       http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gifบุคลากรเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานคอมพิวเตอร์
       http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/napaporn_pr/com/nth_userlib_custom_theme_thaigoodview_home_and_kids_present_bullet_s.gifขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นสิ่งที่จะต้องเข้าใจเพื่อให้ทำงานได้ถูกต้องเป็นระบบ